ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot


http://www.lawyerscouncil.or.th


จดทะเบียนสมรสซ้อนโดยสุจริต มีสิทธิ์อะไรบ้าง article

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3279/2542
 นางสาว ชลธิชา บุญหนุน
      ผู้ร้อง
 
นาง จง จิต ต์ บุญหนุน
      ผู้คัดค้าน
 
 

 

ป.พ.พ. มาตรา 1497

 

          สามีที่จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นผู้ทำการสมรสโดยไม่สุจริตจึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของตนเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1497 ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของสามีเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497 บุตรนอกกฎหมายแม้บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร ชอบด้วยกฎหมายแล้วก็ตามบุตรเช่นว่านี้ก็มีสิทธิแต่เพียงรับมรดก ของบิดากับมารดาของตนเมื่อบุคคลทั้งสองถึงแก่ความตาย แล้วเท่านั้น ฉะนั้น การที่บิดาจดทะเบียนสมรสซ้อนจึงไม่ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสิทธิของบุตร ไม่อยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อน ของบิดาเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497เช่นเดียวกัน

 

________________________________

 


          ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องเป็นบุตรของนายสุรชัย บุญหนุน และในการดำเนินคดีนี้ผู้ร้องได้รับความยินยอมจากนางชะอ้อน อุบลมณี มารดาโดยชอบด้วยกฎหมายนายสุรชัย บุญหนุน บิดาผู้ร้องกับนางพนารัตน์ บุญหนุน (อุดมสุข) ได้จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2531 ณ ที่ว่าการอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ต่อมานายสุรชัย บุญหนุน กับนางสาวจงจิตต์ เมธาประเสริฐศิลป์ ได้จดทะเบียนสมรสกัน เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2539 ณ สำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ซึ่งการสมรสระหว่างนายสุรชัย บุญหนุน กับนางสาวจงจิตต์ เมธาประเสริฐศิลป์ เป็นการสมรสที่เกิดขึ้นระหว่างที่นายสุรชัย บุญหนุน กับนางพนารัตน์ บุญหนุน เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นการสมรสระหว่างนายสุรชัย บุญหนุน กับนางสาวจงจิตต์ เมธาประเสริฐศิลป์ จึงตกเป็นโมฆะ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของนายสุรชัย บุญหนุน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้การสมรสระหว่างนายสุรชัย บุญหนุน กับนางสาวจงจิตต์ เมธาประเสริฐศิลป์ ตกเป็นโมฆะ

          ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า นายสุรชัย บุญหนุน หลอกลวงผู้คัดค้านว่าไม่เคยมีคู่สมรสมาก่อน จนผู้คัดค้านหลงเชื่อจนจดทะเบียนสมรส ผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสียในคดีนี้เพราะมิใช่ผู้สืบสันดานของคู่สมรส ขอให้ยกคำร้อง

          ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอ

          ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

          ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ผู้ร้องเป็นบุตรของนายสุรชัย บุญหนุน กับนางชะอ้อน อุบลมณี ซึ่งอยู่กินกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ผู้ร้องใช้นางสกุล บุญหนุนของบิดามาตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรเอกสารหมาย ร.1 และสำเนาสูติบัตรเอกสารหมาย ร.2 วันที่ 6 มิถุนายน 2531 นายสุรชัยได้จดทะเบียนสมรสกับนางพนารัตน์ อุดมสุข ถูกต้องตามกฎหมาย ต่อมาวันที่ 3 มิถุนายน 2539 นายสุรชัย ได้จดทะเบียนสมรสกับนางสาวจงจิตต์ เมธาประเสริฐศิลป์ ผู้คัดค้านตามสำเนาใบสำคัญการสมรสเอกสารหมาย ร.5 และวันที่ 7 มิถุนายน 2539นายสุรชัยได้จดทะเบียนหย่ากับนางพนารัตน์ ตามสำเนาทะเบียนหย่าเอกสารหมาย ค.2 และสำเนาใบสำคัญการหย่าเอกสารหมาย ค.3

          พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่า ผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497 หรือไม่ ในปัญหานี้ผู้ร้องมีผู้ร้องและนายสุรชัยต่างเบิกความสอดคล้องกันเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ของผู้ร้องกับนายสุรชัยในฐานะเป็นบิดากับบุตรโดยผู้ร้องใช้นามสกุลของนายสุรชัย นายสุรชัย ให้ความอุปการะเลี้ยงดูผู้ร้อง ทั้งนายสุรชัยเป็นผู้ปกครองของผู้ร้องขณะที่ผู้ร้องเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นตามสมุดรายงานประจำตัวนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเอกสารหมาย ร.6 ซึ่งมีข้อความระบุว่านายสุรชัยผู้ปกครองเกี่ยวพันกับผู้ร้องในฐานะเป็นบิดากับมีข้อความที่นายสุรชัยได้บันทึกลงในช่องความเห็นผู้ปกครองแล้วลงชื่อกำกับไว้ นอกจากนั้นนายสุรชัยยังได้จดทะเบียนรับรองผู้ร้องเป็นบุตรตามทะเบียนการรับรองบุตรเอกสารหมาย ร.7 เห็นว่า แม้การจดทะเบียนรับรองบุตรตามเอกสารหมาย ร.7 จะเป็นการจดทะเบียนภายหลังยื่นคำร้องขอนี้ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนรับรองบุตรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปตลอดมาว่าผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายสุรชัยที่บิดาได้รับรองมาตั้งแต่ต้นก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคดีนี้แล้ว ผู้ร้องจึงเป็นผู้สืบสันดานของนายสุรชัยมาก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอคดีนี้ แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้สืบสันดานของนายสุรชัยกับนางชะอ้อนก็ตาม แต่ขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับนายสุรชัย นางชะอ้อนมารดาผู้ร้องมิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสุรชัย นางชะอ้อน จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1497 และปรากฏว่านายสุรชัยได้จดทะเบียนสมรสกับผู้คัดค้านซึ่งเกิดจากความไม่สุจริตของนายสุรชัยฝ่ายเดียว เพราะนายสุรชัยได้จดทะเบียนสมรสกับนางพนารัตน์ไว้ก่อนแล้ว โดยในการจดทะเบียนสมรสครั้งหลังนี้ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านไม่สุจริต เนื่องจากนายสุรชัยได้เบิกความตอบทนายผู้คัดค้านถามค้านว่าพยานจดทะเบียนสมรสกับผู้คัดค้านนั้น พยานไม่ได้ถูกบังคับใด ๆ ทั้งสิ้น การที่นายสุรชัยจดทะเบียนสมรสกับผู้คัดค้านโดยไม่สุจริตเช่นนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1497 เช่นกัน นายสุรชัยและนางชะอ้อนต่างก็ไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างนายสุรชัยกับผู้คัดค้านเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 ได้การที่ผู้ร้องซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานของนายสุรชัยกับนางชะอ้อน และในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของนายสุรชัยกับนางชะอ้อน ซึ่งผู้ร้องมีสิทธิ แต่เพียงรับมรดกของนายสุรชัยกับนางชะอ้อนเมื่อบุคคลทั้งสองถึงแก่ความตายเท่านั้น ดังนั้นการที่ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนสมรสซ้อนกับนายสุรชัยดังกล่าว จึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่หรือจะต้องใช้สิทธิทางศาลที่จะทำให้ผู้ร้องมีอำนาจมาร้องขอต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ถือว่าผู้ร้องไม่อยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497 ได้คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว อุทธรณ์ผู้ร้องฟังไม่ขึ้น"

          พิพากษายืน

 

 

( ชวลิต ธรรมฤาชุ - อธิราช มณีภาค - สุวัตร์ สุขเกษม )

 

 

หมายเหตุ 

          บุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิกล่าวอ้างหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497 นั้น หมายถึงบุคคลที่ถูกกระทบกระเทือนสิทธิหรือหน้าที่อันเนื่องมาจากการสมรสซ้อน อันได้แก่ชายหรือหญิงที่ทำการสมรสซ้อน บิดามารดา ผู้ปกครอง บุตรหรือทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของชายหรือหญิงดังกล่าว และคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของชายหรือหญิงเช่นว่านั้น ในกรณีที่สามีจดทะเบียนสมรสกับภริยา 2 คนสามี ภริยาคนแรกและภริยาคนที่สองถือว่าเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิกล่าวอ้างหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสครั้งที่สองของสามีอันเป็นการสมรสซ้อนนี้เป็นโมฆะได้ หลักการของกฎหมายอังกฤษ คดี Milesv.Chilton (1849)1Rob.Ecc.684 เคยวินิจฉัยว่า คู่สมรสที่ทำการสมรสซ้อนมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสซ้อนของตนเป็นโมฆะได้แม้ตนเองจะทำการสมรสโดยไม่สุจริตก็ตาม แต่ศาลฎีกาในคดีที่หมายเหตุนี้กำหนดหลักการในทางตรงกันข้าม โดยวางหลักการว่า "ชายหรือหญิงที่ทำการสมรสซ้อนอันจะถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการกล่าวอ้างหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของตนเป็นโมฆะจะต้องทำการสมรสโดยสุจริตด้วย หากทำการสมรสโดยไม่สุจริต ไม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย"

           หลักการของศาลฎีกาเช่นว่านี้น่าจะเป็นการขยายความกฎหมายอันก่อให้เกิดความสับสน เพราะ "การเป็นผู้มีส่วนได้เสีย" เป็นคนละอย่างกับ "การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต" หากจะตัดสิทธิสามีผู้จดทะเบียนสมรสกับภริยา 2 คน มิให้กล่าวอ้างหรือร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสครั้งที่สองของตนเป็นโมฆะน่าจะใช้หลักการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5จะเหมาะสมมากกว่า แต่ทั้งนี้ควรต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์แห่งกฎหมายด้วยว่าหากกฎหมายประสงค์จะตัดสิทธิผู้ทำการสมรสซ้อนโดยไม่สุจริตแล้วทำไมมาตรา 1497 จึงไม่บัญญัติไว้ให้ชัดแจ้งว่า"บุคคลผู้มีส่วนได้เสียผู้ทำการโดยสุจริตคนใดคนหนึ่ง" จึงจะมีสิทธิร้องขอเหมือนดังเช่นมาตรา 1499 วรรคสอง และวรรคสาม ที่ระบุว่า"ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริต" จึงจะมีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเลี้ยงชีพ นอกจากนี้น่าจะต้องคำนึงด้วยว่าการสมรสซ้อนเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรมภริยาคนที่สองหากจดทะเบียนสมรสโดยทราบว่าสามีมีภริยาคนแรกเป็นคู่สมรสอยู่แล้วหากต่อมาภายหลังประสงค์จะยุติความสัมพันธ์อันผิดศีลธรรมนี้เพื่อไปสมรสใหม่กับชายอื่นภริยาคนที่สองก็น่าจะมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสของตนกับสามีเป็นโมฆะได้แม้ตนจะทำการสมรสโดยไม่สุจริตก็ตาม

           สำหรับบุตรนอกกฎหมายที่บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วน่าจะถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของบิดาเป็นโมฆะเพราะบุตรนอกกฎหมายเช่นว่านี้มีสิทธิรับมรดกของบิดาและมีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาด้วย การที่บิดาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับภริยาคนที่สองแล้วเกิดบุตร บุตรที่เกิดจากภริยาคนที่สองทุกคนถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาตามมาตรา 1538 วรรคหนึ่ง และแม้ภริยาคนแรกไปกล่าวอ้างกับภริยาคนที่สองว่าการสมรสของภริยาคนที่สองกับสามีเป็นโมฆะเพราะเป็นการสมรสซ้อนแล้วก็ตาม แต่ถ้าภริยาคนที่สองยังอยู่กินฉันสามีภริยากับสามีต่อมาจนเกิดบุตรขึ้นมาอีก บุตรคนนี้ก็ต้องถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา จนกว่าจะมีการฟ้องคดีและศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสของสามีกับภริยาคนที่สองเป็นโมฆะ บุตรที่เกิดหลังจากสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะจึงจะถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของภริยาคนที่สองแต่ผู้เดียวตามมาตรา 1538 วรรคท้าย การที่มีบุตรเกิดจากภริยาคนที่สองเพิ่มขึ้นมากเท่าใด สิทธิในกองมรดกของบิดาและการที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาของบุตรนอกกฎหมายที่บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย่อมลดลงไปมากเพียงนั้น เมื่อสิทธิในมรดกและสิทธิในครอบครัวถูกกระทบกระเทือนเช่นนี้บุตรนอกกฎหมายที่บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วย่อมต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของบิดาเป็นโมฆะได้ และไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตด้วยเพราะบุตรมิได้มีส่วนร่วมในการสมรสซ้อนของบิดาแต่อย่างใด
 




คำพิพากษาที่สำคัญ/บทความกฎหมาย โดยทนายธนู กุลอ่อน

ทนายความทนายธนู กุลอ่อน โทร. 081 928 0163
สัญญาจ้าง ทุนการศึกษา
เปิดเพลงในร้านอาหาร ปรึกษาทนาย |ชูศักดิ์ โทร. 081 928 0163
ทางออกปัญหาพรากผู้เยาว์ ปรึกษากฎหมาย |ชูศักดิ์ โทร. 081 928 0163 article
นับอายุเป็น รับโทษน้อยลง ที่ปรึกษากฎหมาย |ชูศักดิ์ โทร. 081 928 0163 article
ขายสินสมรสต้องได้รับความยินยอม article
สัญญาที่เอาเปรียบ บางข้อ(ของบัตรเครดิต) article
ผลของการเซ็นกระดาษเปล่า article
การพิสูจน์ ความเป็นบุตร/บิดา/มารดา ด้วย D N A article
คู่สมรสเป็นคนต่างชาติถือครองที่ดินได้หรือ article
ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา article
อยากหย่า อีกฝ่ายไม่ยอมหย่า ทำไง? article
หมิ่นประมาท ทางแพ่ง/อาญา? article
ขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ? article
การจดทะเบียนภาระจำยอม
กำหนดเวลาในการยื่นขอแก้ไขคำฟ้องคำให้การ ( มาตรา 180 )
อาชีพทนายความ | ปรึกษากฎหมาย โทรด่วน 081 928 0163
ทนาย กรุงเทพ | ปรึกษากฎหมาย โทรด่วน 081 928 0163
อายุความฟ้องร้อง ซื้อขาย 2 ปี หรือ 5 ปี
ซื้อขาย หนี้ เบี้ยปรับ มัดจำ คำเสนอ
คำร้องขอการปล่อยชั่วคราว
คำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
ความผิดต่อชีิวิต (ปาหิน)
ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
ยาเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ดครึ่ง
สัญญาซื้อขายบัญชีลูกหนี้
สืบประกอบพยายามฆ่า
ชุลมุนต่อสู้
ขับรถประมาท
ขับรถประมาท 2 |ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ล้อซื้อยาเมทแอมเฟตามีน |ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
คำขอท้ายฟ้อง |ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ชิงทรัพย์ |ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ชิงทรัพย์ ตัวการ |ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ลักลวดทองแดง|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
สำเนาเอกสาร|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ลักทรัพย์ (พยานเดียว)|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ภาระการพิสูจน์|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
บันดาลโทสะ|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ซ็อคปลา|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
สนามแข่งรถ
ยืม ตัวแทน
ซ่อมแอร์
รับรองโจร
ละอองสี
กรรโชก
ครอบครองยาบ้าเพื่อจำหน่าย
จ้างทำของ
ลักน้ำมัน
ฉ้อโกง
จำหน่ายยาบ้า 1 เม็ด ซักทอด
ขอคุ้มครองชั่วคราว
ข่มขืนกระทำชำเรา
เงินจอง
การอุทธรณ์
เมาแล้วขับ โทษจำคุบ และปรับ
"คดีเสร็จเด็ดขาด" กับ "คดีถึงที่สุด" ต่างกันอย่างไร
ขอถอนผู้จัดการมรดก/คำพิพากษาศาล
การรังวัด รวม แบ่งแยก สอบเขตที่ดิน article
กฎ ระเบียบ การขายทอดตลาด article
ขั้นตอนในการดำเนินคดีแรงงาน article
ยาไอซ์ (ICE)
ยาอี (Ecstasy)
ยาบ้า รู้ไว้สักนิดก่อนคิดยุ่งเกี่ยว article
บัญญัติ 10 ประการ ยาเสพติด article
อากรแสตมป์กับการโอนที่ดิน article
ภาษีธุรกิจเฉพาะ article
ภาษีการโอนที่ดิน(หัก ณ ที่จ่าย) article
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน article
เรื่องของภาษีป้าย article
เมื่อถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ article
รู้ไว้สักนิดก่อนคิดเล่นแชร์
ซื้อขายไม่สุจริต ต้องเพิกถอน article
เรื่องของเอกสิทธิ์ article
ล้มละลายแล้ว คดีอาญาเลิกหรือไม่
ผู้เสียหายในคดีเช็ค คือใคร
ล้มละลาย น่ารู้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำคุก 50 ปี 5 ลูกศิษย์อดีตรองเจ้าอาวาส
ฟ้อง!สรรพากรต้องจ่าย 28 ล้าน
กฎหมายอาญาใช้ให้เป็นคุณแก่จำเลย
กระบวนการพิจารณาคดีแรงงาน
แผนผังพื้นฟูกิจการของลูกหนี้
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย
การร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
การดำเนินคดีอาญา
การขอปล่อยชั่วคราว(ประกันตัว)
วงเงินประกันผู้ต้องหา/จำเลย
คิดให้ดีก่อนมีชู้
ยาเสพติด ที่ควรรู้
ขั้นตอนการยึกทรัพย์บังคับดคี
เมื่อได้รับหมายศาล จะทำอย่างไร
การเล่นแชร์เป็นอย่างไร
เช่าซื้อรถยนต์ควรทำอย่างไร
การร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
รู้จักศาลทรัพย์สินทางปัญญา
การได้ที่ดินมาของชาวต่างชาติ
ทนายความ พ.ต.ท. ทักษิณ ยอมรับในทางกฎหมายคดีเป็นที่สุด



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
สำนักงานทนายความชูศักดิ์ พุทธรักษ์ และเพื่อน
255 ถนนวัดเวฬุวนาราม แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210
Mobile Phone:(66) 81 928 0163 Email:chusaklaw@gmail.com
ติดต่อ WEBMASTER ที่ Email:chusaklaw@gmail.com, Line Id. chusak1965
สำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกา
C.L.INTERNATIONAL LAW OFFICE CO.,LTD.
3407 W North A St. Tampa, FL, U.S.A. 33609-2252
Email:chusaklaw@gmail.com, www.chusaklaw.com
Skype : chusak1234, Line Id. chusak1965