ลำดับขั้นตอน
|
กิจกรรม
|
วิธีปฏิบัติ
|
ขั้นตอนที่ 1
|
ปรึกษา ทำคำฟ้อง คำร้อง
|
แจ้งความประสงค์ที่นิติกร โต๊ะที่ 1 พบนิติกรผู้ให้คำปรึกษา ผู้ที่จะฟ้องร้องบอกเล่าข้อเท็จจริงต่างๆ พร้อมแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำคำฟ้อง คำร้อง (ถ้ามี) ทำคำฟ้อง คำร้อง และบัญชีพยาน ใช้เวลาประมาณ 30 - 45 นาที ต่อคน (อาจใช้เวลามากกว่านี้หากข้อเท็จจริงมีมาก และฟ้องหลายข้อหา) ขั้นตอนที่ 1 จะจบลงเมื่อคำฟ้อง คำร้อง และบัญชีพยานเสร็จ |
ขั้นตอนที่ 2
|
ถ่ายสำเนาคำฟ้อง / คำร้อง
|
เมื่อทำคำฟ้องเสร็จแล้ว ผู้ยื่นคำฟ้องต้องนำคำฟ้องไปถ่ายเอกสาร โดยถ่ายได้ที่ชั้น 1 ช่องหมายเลข 6 (งานเก็บสำนวน) อาคาร 7 ชั้น จำนวนสำเนาคำฟ้องเท่ากับจำเลยที่ถูกฟ้อง หากประสงค์จะเก็บสำเนาคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน ควรถ่ายเพิ่มอีก 1 ชุด รับรองสำเนาถูกต้องที่สำเนาคำฟ้อง |
ขั้นตอนที่ 3
|
ยื่นคำฟ้อง, คำร้อง รับใบนัด
|
นำคำฟ้อง / คำร้อง / บัญชีพยาน ฉบับจริงพร้อมสำเนา ส่งให้กับงานรับฟ้อง ช่องหมายเลข 3 ซึ่งอยู่ติดกับช่องหมายเลข 4 แล้วนั่งรอเรียกชื่อ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจคำฟ้องและเอกสารถูกต้อง จะให้ใบนัดและแจ้ง วัน เดือน ปี พ.ศ. เวลา ที่ศาลนัดพิจารณาคดี เสร็จขั้นตอนนี้จะได้ใบนัด ขั้นตอนนี้ใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที |
ขั้นตอนที่ 4
|
นำใบนัดแจ้งนิติกร
|
นำใบนัดที่ได้รับจากงานรับฟ้องกลับมาที่อาคารชั้นเดียว พบนิติกรผู้ที่ให้คำปรึกษา นิติกรจะบันทึกรายการบัญชีการฟ้องคดี และคืนใบนัดให้ ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 5 นาที เสร็จขั้นตอนนี้เมื่อนิติกรคืนใบนัดให้ และเสร็จขบวนการฟ้องคดี |
การอุทธรณ์คดีแรงงาน
การไกล่เกลี่ย ::
คือ กระบวนการระงับข้อพิพาทที่มีบุคคลที่สาม โดยผู้พิพากษาสมทบซึ่งมีประสบการณ์จากการทำงาน และนิติกรผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงาน มาร่วมกันช่วยให้คู่กรณีเจรจาต่อรองกันได้สำเร็จ
ผู้ไกล่เกลี่ย จะช่วยให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายหรือทุกฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกัน จากกรณีที่มีการพิพาทกัน
ผู้ไกล่เกลี่ย จะเป็นผู้กระตุ้นให้คู่ความสามารถตกลงกันได้ง่ายขึ้น และอำนวยความสะดวกในการเจรจาระหว่างคู่กรณีจนกระทั้งได้รับข้อตกลงร่วมกัน หรือทางออกของปัญหา
:: ประโยชน์ ::
- เพื่อให้คู่กรณีสามารถตกลงกันได้ บนพื้นฐานของความถูกต้อง
- เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
- เพื่อให้คู่ความได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงที
- ลดปริมาณคดีที่ค้างพิจารณาในศาล
- ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี
:: ค่าใช้จ่าย ::
การไกล่เกลี่ย คู่ความ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เว้นแต่จะมีการส่งคดีไปให้สำนักระงับข้อพิพาทดำเนินการให้และจำเป็นต้องใช้ผู้ทรงคุณวุฒิเท่านั้น
การจ่ายค่าใช้จ่ายผู้ทรงคุณวุฒิ ตามทะเบียนรายชื่อของสำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามระเบียบสำนักงานศาลยุติธรรม
การจ่ายค่าใช้จ่าย ผู้ทรงคุณวุฒิที่คู่ความร้องขอให้ศาลตั้ง และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ได้อยู่ในทะเบียนรายชื่อของสำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรมให้คู่ความรับผิดชอบตามที่ตกลงกัน
:: การรักษาความลับ ::
บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องในการไกล่เกลี่ยตกลงจะเก็บรักษาความลับของคู่ความและจะไม่ใช้ข้อมูลดังต่อไปนี้ในการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการหรือศาล
- ข้อเท็จจริงใด ๆ เกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อการไกล่เกลี่ย
- ความเห็นหรือข้อเสนอใด ๆ ซึ่งได้เสนอโดยคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในกระบวนการไกล่เกลี่ย
- ความเห็นหรือข้อเสนอใด ๆ ซึ่งได้เสนอโดยผู้ไกล่เกลี่ยหรือผู้ทรงคุณวุฒิ
- ข้อเท็จจริงที่คู่ความ อีกฝ่ายหนึ่งได้ยอมรับหรือปฏิเสธข้อเสนอในการไกล่เกลี่ย เพื่อให้เกิดการประนีประนอมยอมความ ซึ่งได้เสนอโดยผู้ไกล่เกลี่ย
- ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ย รวมถึงสัญญาประนีประนอมยอมความเว้นแต่กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งการบังคับตามสัญญาประนีประนอมนั้นเอง
เอกสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสาร หรือข้อมูลซึ่งใช้หรือได้ใช้หรือเกิดขึ้นจากกระบวนการ ไกล่เกลี่ยจะไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงในกระบวนการพิจารณาอื่นใดเกี่ยวกับข้อพิพาทได้
ดังนั้น คู่ความสามารถที่จะเจรจากันได้เต็มที่ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะได้เปรียบเสียเปรียบในทางคดี
หลักเกณฑ์การอุทธรณ์
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน หมวด 4 อุทธรณ์ มาตรา 54 กำหนดหลักเกณฑ์ว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานให้อุทธรณ์ได้ เฉพาะในข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
การอุทธรณ์นั้น ให้ทำเป็นหนังสือต่อศาลแรงงาน ซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และให้ศาลแรงงานส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ฝ่ายนั้นได้รับสำเนาอุทธรณ์
เมื่อได้มีการแก้อุทธรณ์แล้ว หรือไม่แก้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลแรงงานกลางกำหนด ให้ศาลแรงงานรีบส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา
มาตรา 55 การยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลแรงงาน แต่คู่ความที่ยื่นอุทธรณ์อาจทำคำขอยื่นต่อศาลแรงงาน ซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยชี้แจงเหตุผลอันสมควร เพื่อให้ศาลฎีกาสั่งทุเลาการบังคับไว้ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกา โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา หรือหาหลักประกันไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้ง มาตรา 31 ที่ว่าให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม
ขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เมื่อมีคำฟ้องอุทธรณ์
เมื่อมีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งยื่นเข้ามา สิ่งที่จะต้องตรวจก็คืออุทธรณ์หรือคำสั่งนั้น ได้มีการยื่นเข้ามาภายในกำหนด 15 วันหรือไม่มีการขอขยายระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่ง และได้ยื่นเข้ามาภายในกำหนดหรือไม่วันที่ยื่นอุทธรณ์ตรงกับวันเดือนปีปัจจุบันหรือไม่ท้ายอุทธรณ์มีการลงลายมือชื่อ ผู้ยื่นอุทธรณ์หรือไม่เรียกเก็บสำเนาอุทธรณ์ให้ครบตามจำนวนคู่ความในกรณีอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ต้องตรวจดูว่าคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสีย ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายใน 15 วันหรือไม่ และต้องให้ผู้ยื่นวางเงินตามคำพิพากษาหรือหาหลักประกันมาวางต่อศาล
ขั้นตอนการวางหลักประกัน
- กรณีวางเงินสด นำคำร้องขอวางเงินยื่นขอวางเงินได้ที่งานการเงิน
- กรณีวางหลักประกันอื่น
- วางโฉนดที่ดิน คู่ความต้องนำโฉนดที่ดินตัวจริง หนังสือประเมินจากกรมที่ดิน พร้อมสำเนาโฉนดที่ดินและสำเนาหนังสือประเมินจากกรมที่ดิน สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวมาแสดงด้วยพร้อมทั้งทำหนังสือสัญญาประกันต่อศาล ถ้าเจ้าของที่ดินไม่สามารถมาทำหนังสือสัญญาประกันต่อศาลได้ ก็ต้องทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมทั้งนำสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชนมาแสดงต่อศาลด้วย
- วางบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือเงินฝากประจำ นำสมุดบัญชีคู่ฝาก พร้อมหนังสือรับรองจากธนาคารเพื่อยืนยัดยอดเงินในบัญชีและอายัดเงินในสมุดบัญชีคู่ฝาก พร้อมทั้งนำสำเนาสมุดบัญชีคู่ฝากและสำเนาหนังสือรับรองจากธนาคารเมื่อมีคำสั่งอุทธรณ์ถูกต้องแล้ว ประทับตรารับฟ้องแล้วนำลงบัญชีสารบบอุทธรณ์ จากนั้นเบิกสำนวนจากงานเก็บแดง หรืองานส่วนช่วยพิจารณาคดี แล้วนำเสนอผู้พิพากษาสั่ง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้วลงผลคำสั่ง แล้วส่งไปออกหมาย
- กรณีที่มีการยื่นคำร้อง หรือคำแก้อุทธรณ์ ปฏิบัติเช่นเดียวกับอุทธรณ์