ภาษีบำรุงท้องที่ หมายถึง ที่ดิน พื้นที่ดิน พื้นที่ที่เป็นภูเขา พื้นที่ที่มีน้ำ
เจ้าของที่ดิน
- บุคคลหรือคณะบุคคล ซึ่งเป็นบุคคล ธรรมดาหรือนิติบุคคล
-มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครอง อยู่ในที่ดินไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน
ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
- โฉนดที่ดิน
- โฉนดแผนที่
- โฉนดตราจอง
- ตราจองที่ตราวาได้ทำประโยชน์แล้ว
ผู้มีสิทธิครอบครอง
- น.ส. 3
- น.ส. 3 ก
- น.ส. 2 หรือใบจองที่ดิน
- ส.ค. 1 หรือสิทธิครอบครอง
- หนังสือ ส.ป.ก.
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ (มาตรา 7)
1.เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี
2.เสียภาษีตามราคาปานกลางของที่ดินตาม บัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่
3.กรณีประกอบการกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุก เสียกึ่งอัตรา แต่ถ้าทำด้วยตนเอง
เสียไร่ละไม่เกิน บาท
4.กรณีที่ดินทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ ตามสมควรแก่สภาพของที่ดิน
ให้เสียเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่า
ขั้นตอนการชำระภาษี
1.การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินที่ต้องยื่นภายในเดือนมกราคมของปีแรกที่มีการต
ราคาปานกลางของที่ดินและใช้ได้ 4 ปี
2. กรณีเจ้าของที่ดินใหม่ หรือจำนวนเนื้อที่ดินเปลี่ยนไปให้ยื่นแบบ ฯ ภายใน 30 วัน
นับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว (มาตรา 31 )
3. กรณีเจ้าของที่ดินเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเป็นเหตุให้การลดหย่อนตามมาตรา 22เปลี่ยนแปลงไปหรือมีเหตุอื่น ให้แล้วต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีเหตุอื่น (มาตรา 32)
การชำระภาษี
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี (มาตรา 35)
2. วิธีการชำระภาษี โดยชำระ ณ สำนักงานของท้องถิ่น หรือสถานที่ที่ประกาศกำหนด หรือโดยการส่งธนาณัติ ตั๋วแลกเงินของธนาคารหรือเช็คที่ธนาคารรับรองทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังสำนักงานท้องถิ่น(มาตรา 34 และมาตรา 34 ทวิ)
3. การผ่อนชำระภาษี ภาษีตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไปผ่อนชำระเป็น 3 งวด ๆ ละเท่ากันก็ได(มาตรา 36 ทวิ)
เงินเพิ่ม (มาตรา 45 )
1. ไม่ยื่นแบบ ภบท.5 ภายในกำหนด เสียเพิ่ม 10 % ของจำนวนเงินภาษี เสียเพิ่ม 5 % ของจำนวนเงินภาษี
2. ยื่นแบบ ภบท. 5 ไม่ถูกต้อง เสียเพิ่ม 10 % ของเงินภาษี ส่วนที่ประเมินเพิ่มเติม
3. แจ้งจำนวนที่ดินไม่ถูกต้อง เสียเพิ่ม 1 เท่า ของภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
4. ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด(ภาษีค้างชำระ) เสียเพิ่ม 24% ต่อปี หรือร้อยละ 2 ต่อเดือน
เอกสารในการชำระภาษี
1.บัตรประจำตัวประชาชน
2.ในเสร็จรับเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ของปีที่ผ่านมา
3.สำเนาโฉนดที่ดิน (กรณีปีแรกของการประเมิน (4ปีประเมิน))
เงินเพิ่ม
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายจะต้องเสียเงินเพิ่มในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้
1.ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีป้ายเว้นแต่กรณีทีเจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของภาษีป้าย
2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีป้ายลดน้อยลงให้เสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 10 ของค่าภาษีป้าย ที่ประเมินเพิ่มเติม เว้นแต่กรณีเจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบการแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน
3.ไม่ชำระภาษีป้ายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 2 ต่อเดือนของค่าภาษีป้ายเศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม 1. และ 2. มาคำนวณเป็นเงินเพิ่มตามข้อนี้ด้วย
บทกำหนดโทษ
1. ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง50,000บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
2. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000บาทถึง 50,000 บาท
3. ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายหรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบกิจการต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาทถึง 10,000บาท
4. ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งสั่งให้มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งบัญชีหรือเอกสารเกี่ยวกับป้ายมา ตรวจสอบภายในกำหนดเวลาอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ