ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot


http://www.lawyerscouncil.or.th


ภาษีโรงเรือนและที่ดิน article

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องไปกับโรงเรือนหรือสิ่ง
ปลูกสร้างนั้น
ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ได้แก่ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง และที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและ
สิ่งปลูกสร้างนั้น และในปีที่ผ่านมาได้มีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น เช่น ให้เช่า ใช้เป็นที่ทำการค้าขาย ที่ไว้สินค้า ที่
ประกอบอุตสาหกรรม ให้ญาติ บิดา มารดา บุตร หรือผู้อื่นอยู่อาศัย หรือใช้ประกอบกิจการอื่น ๆ เพื่อหารายได้ และไม่เข้า
ข้อยกเว้นตามกฎหมาย
หลักการสำคัญ
1. ต้องมีทรัพย์สิน ได้แก่
- โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ และ
- ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น
2. ไม่เข้าข้อยกเว้น ตามมาตรา 9,10
ข้อสังเกต
- ค่าภาษี : ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน ในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี
- ค่ารายปี : จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีให้เช่า ให้ถือค่าเช่าคือค่ารายปี
- เงินเพิ่ม : เป็นมาตรการทางแพ่ง เพื่อให้มีการชำระภาษีภายในกำหนด ตามมาตรา 43 ซึ่งพนักงานเก็บภาษี
สามารถเรียกเก็บผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้เอง
- ค่าปรับ : เป็นโทษทางอาญา ซึ่งมีกำหนดไว้ในมาตรา 46,47 และ 48 โดยพนักงานสอบสวนฝ่าย
ปกครองเป็นผู้มีหน้าที่เปรียบเทียบปรับ และท้องถิ่นไปขอรับเงินค่าปรับมาเป็นรายได้ของตนเอง
- พนักงานเจ้าหน้าที่ คือ ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มีหน้าที่รับแบบฯ ประเมินภาษีและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่
กฎหมายกำหนด
- พนักงานเก็บภาษี คือ ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มีหน้าที่จัดเก็บ รับชำระ รวมทั้งเร่งรัดให้ชำระภาษี และปฏิบัติ
หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
ทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นภาษีไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ได้แก่
1. พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
2. ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของรัฐบาล หรือสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศ
ไทยที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรง
3. ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะ และโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการที่ไม่ใช่เพื่อเป็นผลกำไร
ส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการรักษาพยาบาลและในการศึกษา
4. ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียวหรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์
5. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปี และเจ้าของไม่ได้อยู่เอง หรือไห้ผู้อื่นอยู่
นอกจากคนเฝ้าในโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ หรือในที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกัน
6. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออยู่อาศัยเอง และมิได้ใช้เป็นที่เก็บ สินค้าหรือ
ประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้
7. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งเจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา และซึ่งมิได้ใช้เป็นที่
ไว้สินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม
-2-
การลดค่าภาษีหรือปลดภาษี
1. เมื่อปรากฎว่าผู้รับประเมินได้เสียหายเพราะทรัพย์สินว่างลงหรือชำรุด ต้องซ่อมแซมส่วนสำคัญ
2. ผู้รับประเมินยื่นคำร้อง
3. ลดค่าภาษีลงตามส่วนที่เสียหาย หรือปลดค่าภาษีทั้งหมดก็ได้
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
1. เจ้าของทรัพย์สิน
2. เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างและเจ้าของที่ดินเป็นคนละเจ้าของ เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นผู้มี
หน้าที่เสียภาษีสำหรับทรัพย์สินนั้นทั้งหมด
ระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษี
เจ้าของทรัพย์สินต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภรด. 2) ณ สำนักงานขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
การคำนวณภาษี การประเมินค่ารายปี และอัตราภาษี
ภาษีโรงเรือนและที่ดินคิดจากค่ารายปีของทรัพย์สิน ในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี เช่น บ้านให้เช่า มีค่าราย
ปี 12,000 บาท ค่าภาษีจะเท่ากับ 12,000X12.5/100 เป็นเงิน 1,500 บาท ค่ารายปีของทรัพย์สิน หมายถึง จำนวนเงิน
ซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ เช่น บ้านให้เช่าเดือนละ 1,000 บาท ค่ารายปีของบ้านหลังนี้ก็คือ 12,000
บาท (หมายถึง ค่าเช่าทั้งปีของบ้านหลังนี้ 1,000 X 12 = 12,000 บาท)
การประเมินค่ารายปีมีหลักเกณฑ์การประเมินตามลำดับ ดังนี้
1. กรณีที่ทรัพย์สินนั้นมีการให้เช่าและค่าเช่าสมควร ให้นำค่าเช่ามาคิดเป็นรายปี
2. กรณีทรัพย์สินให้เช่าและค่าเช่าไม่สมควรหรือหาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินประกอบกิจการเอง ให้
ประเมินค่ารายปีโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของทรัพย์สินในปีที่ผ่านมา หรือเทียบเคียงกับค่ารายปีของ ทรัพย์สินในบริเวณ
ใกล้เคียงกันที่มีลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเล ที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึง
กันในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ซึ่งในเรื่องนี้กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นจัดทำราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนตามทำเลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตาม
ประเภทของทรัพย์สิน
3. กรณีไม่สามารถเทียบเคียงตามข้อ 2 ได้อาจประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินโดยใช้มูลค่าทรัพย์สินมาประกอบการ
ประเมินได้
ค่าภาษี
1. ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปี
2. อัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี
ค่าภาษี = ค่ารายปี X 12.5 %
ค่ารายปี
ค่ารายปี คือ จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ กรณีให้เช่าให้ถือค่าเช่าคือค่ารายปีกรณีมีเหตุ
- ค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควร
- หาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากดำเนินกิจการเองหรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่า
รายปีตามหลักเกณฑ์ที่ รมว.มท. กำหนด
ลดค่ารายปี
- มาตรา 11 โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างฯ ถูกรื้อถอนทำลายโดยประการอื่น ให้ลดยอดค่ารายปีตามส่วนที่ถูก
ทำลายตลอดเวลาที่ยังมิได้ทำขึ้น และยังใช้ไม่ได้
-3-
- มาตรา 12 โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ทำขึ้นระหว่างปีถือเอาเวลาซึ่งมีขึ้นและสำเร็จจนควรอยู่ได้แล้ว เป็นเกณฑ์
คำนวณค่ารายปี
- มาตรา 13
1. เจ้าของโรงเรือนติดตั้งส่วนควบที่สำคัญขึ้นในโรงเรือนนั้น
2. มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้า
3. เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรม
4. ลดค่ารายปีลงเหลือ 1 ใน 3
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประเมินเทียบเคียงกับค่ารายปีของทรัพย์สินที่ให้เช่า ที่มีลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด ทำเล ที่ตั้ง และบริการ
สาธารณะ ที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกัน
สรุป : หลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปี
1. ทรัพย์สินให้เช่า ค่าเช่าสมควรถือค่าเช่าคือค่ารายปี
2. ทรัพย์สินให้เช่า ค่าเช่าไม่สมควร หรือหาค่าเช่าไม่ได้ประเมินโดยเทียบเคียง
- ค่ารายปีที่ล่วงมาแล้ว
- ค่ารายปีของทรัพย์สินที่ให้เช่า
3. กรณีเทียบเคียงตาม 2. ไม่ได้อาจใช้มูลค่าทรัพย์สินมาประกอบการประเมินค่ารายปีได้
4. คำนึงภาระภาษีของประชาชน
ระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษี
เจ้าของทรัพย์สินต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภรด. 2) ณ สำนักงานของ องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
หลักฐานที่ใช้ประกอบการเสียภาษี
เพื่อความสะดวกในการเสียภาษี ควรแนะนำผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำหลักฐานประกอบการยื่นแบบแสดง รายการ
เพื่อเสียภาษี (ภรด. 2) เท่าที่จำเป็นเพียงเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีเท่านั้น
1. กรณีเป็นการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินรายใหม่ เช่น
1) สำเนาทะเบียนบ้าน/บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีหน้าที่เสียภาษี
2) สำเนาโฉนดที่ดิน - สัญญาซื้อขายโรงเรือน
3) สัญญาเช่าโรงเรือน/สัญญาเช่าที่ดิน
4) ทะเบียนพาณิชย์- ทะเบียนการค้า - ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
5) ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร
6) หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วน/บริษัท- งบดุล
7) ใบอนุญาตตั้งหรือประกอบกิจการโรงงาน
8) ใบอนุญาตสะสมอาหารหรือใบอนุญาตประกอบกิจการค้า
9) หลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงการเริ่มใช้ประโยชน์ของทรัพย์สิน
10) แผนที่ตั้งของที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่เสียภาษี
11) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมีผู้อื่นมายื่นแบบ ภรด. 2 แทน)
12) ในกรณีที่โรงเรือนมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน ให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมลงลายมือชื่อในแบบ
ภรด.2 ในฐานะผู้รับประเมินทุกคน หรือจะมอบอำนาจให้คนใดคนหนึ่งก็ได้ การมอบต้องทำเป็นหนังสือและปิดแสตมป์ตาม
กฎหมาย
-4-
2. กรณีเป็นผู้เสียภาษีรายเก่าที่เคยเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินมาแล้วขั้นตอนในการชำระภาษี
1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สินเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภรด.2)
พร้อมด้วยหลักฐาน ณ สำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่
2) พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบแสดงรายการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
3) พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินค่ารายปีและค่าภาษีที่จะต้องเสีย
4) พนักงานเก็บภาษีแจ้งการประเมิน (ภรด.8) ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบว่าจะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงิน
เท่าใด
5) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเมื่อได้รับแจ้งการประเมินแล้วจะต้องนำเงินค่าภาษีไปชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันถัด
จากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน มิฉะนั้นจะต้องเสียเงินเพิ่ม
เงินเพิ่ม
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน เมื่อได้รับแจ้งการประเมินแล้ว จะต้องนำเงินค่าภาษีไปชำระภายใน 30 วัน
นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน มิฉะนั้นจะต้องเสียภาษีเพิ่ม ดังนี้
1. ถ้าชำระไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดให้เพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
2. ถ้าเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง
3. ถ้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
4. ถ้าเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง
บทกำหนดโทษ
1. ผู้ใดละเลยไม่แสดงข้อความในแบบพิมพ์เพื่อแจ้งรายการทรัพย์สินตามความเป็นจริง ตามความรู้เห็นของตนให้
ครบถ้วน และรับรองความถูกต้องของข้อความดังกล่าวพร้อมทั้งลงวันที่ เดือน ปี และลงลายมือชื่อของตนกำกับไว้ เว้นแต่จะ
เป็นด้วยเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท
2. ผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่แจ้งรายการเพิ่มเติมรายละเอียดยิ่งขึ้น
เมื่อเรียกร้อง ไม่นำพยานหลักฐานมาแสดงหรือไม่ตอบคำถามเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซักถาม หรือไม่าตอบคำถามเมื่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ซักถามผู้รับประเมินในเรื่องใบแจ้งรายการ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
3. ผู้ใดยื่นข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง
เพื่อหลีกเลี่ยงหรือจัดหาทางให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยงการคำนวณค่ารายปีแห่งทรัพย์สินของตนตามที่ควรก็ดี
หรือโดยความเท็จ โดยเจตนาละเลย โดยฉ้อโกงโดยอุบาย โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นที่จะหลีกเลี่ยงหรือพยายาม
หลีกเลี่ยงการคำนวณค่ารายปีแห่งทรัพย์สินของตนตามที่ควรก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การอุทธรณ์การประเมินภาษี
เมื่อผู้เสียภาษีได้รับแจ้งการประเมินแล้ว ไม่พอใจในการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเห็นว่าค่าภาษีสูง
เกินไป หรือประเมินไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้โดยยื่นอุทธรณ์ตามแบบที่กำหนด (ภรด. 9) ภายใน 15 วัน นับแต่
วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และเมื่อได้รับแจ้งผลการชี้ขาดแล้วยังไม่เป็นที่พอใจก็มีสิทธินำเรื่องร้องต่อศาลได้ภายใน 30 วัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาด
-------------------------------




คำพิพากษาที่สำคัญ/บทความกฎหมาย โดยทนายธนู กุลอ่อน

ทนายความทนายธนู กุลอ่อน โทร. 081 928 0163
สัญญาจ้าง ทุนการศึกษา
เปิดเพลงในร้านอาหาร ปรึกษาทนาย |ชูศักดิ์ โทร. 081 928 0163
จดทะเบียนสมรสซ้อนโดยสุจริต มีสิทธิ์อะไรบ้าง article
ทางออกปัญหาพรากผู้เยาว์ ปรึกษากฎหมาย |ชูศักดิ์ โทร. 081 928 0163 article
นับอายุเป็น รับโทษน้อยลง ที่ปรึกษากฎหมาย |ชูศักดิ์ โทร. 081 928 0163 article
ขายสินสมรสต้องได้รับความยินยอม article
สัญญาที่เอาเปรียบ บางข้อ(ของบัตรเครดิต) article
ผลของการเซ็นกระดาษเปล่า article
การพิสูจน์ ความเป็นบุตร/บิดา/มารดา ด้วย D N A article
คู่สมรสเป็นคนต่างชาติถือครองที่ดินได้หรือ article
ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา article
อยากหย่า อีกฝ่ายไม่ยอมหย่า ทำไง? article
หมิ่นประมาท ทางแพ่ง/อาญา? article
ขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ? article
การจดทะเบียนภาระจำยอม
กำหนดเวลาในการยื่นขอแก้ไขคำฟ้องคำให้การ ( มาตรา 180 )
อาชีพทนายความ | ปรึกษากฎหมาย โทรด่วน 081 928 0163
ทนาย กรุงเทพ | ปรึกษากฎหมาย โทรด่วน 081 928 0163
อายุความฟ้องร้อง ซื้อขาย 2 ปี หรือ 5 ปี
ซื้อขาย หนี้ เบี้ยปรับ มัดจำ คำเสนอ
คำร้องขอการปล่อยชั่วคราว
คำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
ความผิดต่อชีิวิต (ปาหิน)
ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
ยาเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ดครึ่ง
สัญญาซื้อขายบัญชีลูกหนี้
สืบประกอบพยายามฆ่า
ชุลมุนต่อสู้
ขับรถประมาท
ขับรถประมาท 2 |ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ล้อซื้อยาเมทแอมเฟตามีน |ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
คำขอท้ายฟ้อง |ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ชิงทรัพย์ |ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ชิงทรัพย์ ตัวการ |ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ลักลวดทองแดง|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
สำเนาเอกสาร|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ลักทรัพย์ (พยานเดียว)|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ภาระการพิสูจน์|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
บันดาลโทสะ|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ซ็อคปลา|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
สนามแข่งรถ
ยืม ตัวแทน
ซ่อมแอร์
รับรองโจร
ละอองสี
กรรโชก
ครอบครองยาบ้าเพื่อจำหน่าย
จ้างทำของ
ลักน้ำมัน
ฉ้อโกง
จำหน่ายยาบ้า 1 เม็ด ซักทอด
ขอคุ้มครองชั่วคราว
ข่มขืนกระทำชำเรา
เงินจอง
การอุทธรณ์
เมาแล้วขับ โทษจำคุบ และปรับ
"คดีเสร็จเด็ดขาด" กับ "คดีถึงที่สุด" ต่างกันอย่างไร
ขอถอนผู้จัดการมรดก/คำพิพากษาศาล
การรังวัด รวม แบ่งแยก สอบเขตที่ดิน article
กฎ ระเบียบ การขายทอดตลาด article
ขั้นตอนในการดำเนินคดีแรงงาน article
ยาไอซ์ (ICE)
ยาอี (Ecstasy)
ยาบ้า รู้ไว้สักนิดก่อนคิดยุ่งเกี่ยว article
บัญญัติ 10 ประการ ยาเสพติด article
อากรแสตมป์กับการโอนที่ดิน article
ภาษีธุรกิจเฉพาะ article
ภาษีการโอนที่ดิน(หัก ณ ที่จ่าย) article
ภาษีบำรุงท้องที่
เรื่องของภาษีป้าย article
เมื่อถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ article
รู้ไว้สักนิดก่อนคิดเล่นแชร์
ซื้อขายไม่สุจริต ต้องเพิกถอน article
เรื่องของเอกสิทธิ์ article
ล้มละลายแล้ว คดีอาญาเลิกหรือไม่
ผู้เสียหายในคดีเช็ค คือใคร
ล้มละลาย น่ารู้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำคุก 50 ปี 5 ลูกศิษย์อดีตรองเจ้าอาวาส
ฟ้อง!สรรพากรต้องจ่าย 28 ล้าน
กฎหมายอาญาใช้ให้เป็นคุณแก่จำเลย
กระบวนการพิจารณาคดีแรงงาน
แผนผังพื้นฟูกิจการของลูกหนี้
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย
การร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
การดำเนินคดีอาญา
การขอปล่อยชั่วคราว(ประกันตัว)
วงเงินประกันผู้ต้องหา/จำเลย
คิดให้ดีก่อนมีชู้
ยาเสพติด ที่ควรรู้
ขั้นตอนการยึกทรัพย์บังคับดคี
เมื่อได้รับหมายศาล จะทำอย่างไร
การเล่นแชร์เป็นอย่างไร
เช่าซื้อรถยนต์ควรทำอย่างไร
การร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
รู้จักศาลทรัพย์สินทางปัญญา
การได้ที่ดินมาของชาวต่างชาติ
ทนายความ พ.ต.ท. ทักษิณ ยอมรับในทางกฎหมายคดีเป็นที่สุด



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
สำนักงานทนายความชูศักดิ์ พุทธรักษ์ และเพื่อน
255 ถนนวัดเวฬุวนาราม แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210
Mobile Phone:(66) 81 928 0163 Email:chusaklaw@gmail.com
ติดต่อ WEBMASTER ที่ Email:chusaklaw@gmail.com, Line Id. chusak1965
สำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกา
C.L.INTERNATIONAL LAW OFFICE CO.,LTD.
3407 W North A St. Tampa, FL, U.S.A. 33609-2252
Email:chusaklaw@gmail.com, www.chusaklaw.com
Skype : chusak1234, Line Id. chusak1965