ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot


http://www.lawyerscouncil.or.th


เมื่อถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ article

 

คดีล้มละลาย    
                        เมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องคดีศาลจะทำการพิจารณาสืบพยานหลักฐานให้ได้ความจริง และศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดลูกหนี้
 
                 ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
                 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วถือว่าเป็นการเริ่มต้นของคดีล้มละลายซึ่งศาลจะยังไม่ได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายในทันทีซึ่งกรณีดังกล่าว   ทำให้ลูกหนี้ที่รับราชการยังไม่ขาดคุณสมบัติการเป็นข้าราชการ และยังคงรับราชการต่อไปได้จนกว่าศาลจะพิพากษาให้ล้มละลาย
                และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ไม่ว่าจะกรณีพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือเด็ดขาด ศาลจะส่งหมายแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ
 
 
                 สิ่งที่ลูกหนี้ต้องปฏิบัติ
        ติดต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
·       เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีหมายเรียกหรือหมายนัดให้ไปพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
  • นำหมายนัดไปพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามกำหนดวันเวลาที่ระบุในหมายโดยเคร่งครัด
  • นำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้โดยมีรูปกำกับหรือสำเนาทะเบียนบ้านไปด้วยทุกครั้ง
 
 
สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้
       1. ต้องไปสาบานตัวและให้ถ้อยคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินพร้อมทำบัญชีแสดงกิจการและ ทรัพย์สิน
2. ต้องส่งมอบทรัพย์สิน บัญชี ดวงตราห้างฯหรือบริษัทและเอกสารต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
3. ขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน กำหนด 7 วันนับแต่วันยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการ และทรัพย์สินหรือภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดให้หรือขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายภายในเวลาที่กำหนด            
       4. ไปประชุมเจ้าหนี้ทุกครั้งเมื่อได้รับแจ้งกำหนดวันนัดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
       5. ไปให้ศาลไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยเมื่อได้รับแจ้งวันกำหนดนัดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
       6.   ทำบัญชีรับ-จ่ายทุก 6 เดือน นับแต่ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์แจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทุกครั้งเมื่อย้ายที่อยู่ใหม่
       7. เดินทางออกนอกราชอาณาจักรต้องขออนุญาตจากศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามความจำเป็นและสมควร
            แก่ฐานะ 
       8. ขอค่าเลี้ยงชีพจากเงินได้มาในระหว่างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามความจำเป็นและสมควร
        9. อาจขอให้ปลดตนเองจากการล้มละลายหรือยกเลิกการล้มละลายตามวิธีการและเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
      10. รับเงินหรือทรัพย์สินที่เหลือคืนเมื่อหลุดพ้นจากการล้มละลาย
    สรุป เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์อำนาจในการจักการทรัพย์สินต่าง ๆ ของลูกหนี้ตกอยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว
 
                        ข้อจำกัดสิทธิหน้าที่ของลูกหนี้
    1. ห้ามกระทำการใด ๆ เดี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินเว้นแต่กระทำตามคำสั่ง หรือความเห็นชอบของศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
    2. ห้ามดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน
    3. เดินทางออกนอกราชอาณาจักรต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
    4. รับสินเชื่อจากบุคคลอื่นตั้งแต่หนึ่งร้อยบาทขึ้นไปต้องแจ้งให้ทราบว่าตนถูพิทักษ์ทรัพย์หรือตกเป็นบุคคลล้มละลาย
                    ลูกหนี้จะหลุดพ้นจากการล้มละลายได้อย่างไร?
    1. ขอประนอมหนี้
          ลูกหนี้อาจขอประนอมหนี้ได้ 2 ช่วง คือ                                                             
1.1    ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย
                ลูกหนี้อาจยื่นคำขอประนอมหนี้เป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในกำหนด 7 วัน               นับแต่วันยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินหรือภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนด                  ให้ ซึ่งคำขอประนอมหนี้ต้องแสดงข้อความแห่งการประนอมหนี้หรือวิธีจัดกิจการหรือทรัพย์สินและรายละเอียดแห่งหลักประกันหรือผู้ค้ำประกัน(ถ้ามี)โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อปรึกษาลงมติพิเศษว่าจะยอมรับคำขอนั้นหรือไม่และเมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้แล้วก็ยังต้องให้ศาลเห็นชอบกับคำขอประนอมหนี้นั้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากศาลพิจารณาแล้วเห็นชอบกับคำขอประนอมหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์
รายงันไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง
  • กรณีที่ศาลไม่เห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้ ศาลจะพิพากษาให้ ลูกหนี้ล้มละลาย และแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบเพื่อดำเนินการ ตาม อำนาจหน้าที่ต่อไป
  • กรณีที่ลูกหนี้ไม่ไปให้ศาลไต่สวน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแถลงให้ศาลออกหมายจับลูกหนี้และขอให้ศาล งดการไต่สวนโดยเปิดเผย โดยถือว่าลูกหนี้ไม่ติดใจในการประนอมหนี้แล้วพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายต่อไป
  • เมื่อลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามข้อประนอมหนี้หรือผิดนัด ไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย
                  ตาม มาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
         1.2 การประนอมหนี้หลังล้มละลาย
                 ลูกหนี้มีสิทธิขอประนอมหนี้ภายหลังที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วได้อีก แต่ถ้าลูกหนี้ได้เคยขอประนอมหนี้ไม่เป็นผลมาแล้วห้ามมิให้ลูกหนี้
          ขอประนอมหนี้ภายในกำหนดเวลา 3 เดือนนับแต่วันที่การขอประนอมหนี้ ครั้งสุดท้ายไม่เป็นผล
  • กรณีที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ศาลจะสั่งยกเลิกการล้มละลายและให้ลูกหนี้กลับมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของตน
  • กรณีที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามข้อประนอมหนี้ศาลจะมีคำสั่งยกเลิก การประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย
 
 
 
2. การปลดจากล้มละลาย
 เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว บุคคลล้มละลายอาจได้รับการปลดจากล้มละลายได้ 2 กรณี
     2.1 ศาลได้มีคำสั่งปลดจากการล้มละลายตามมาตรา 71   ให้ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลาย              เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า
      1) ได้แบ่งทรัพย์สินชำระให้แก่เจ้าหนี้ที่ได้ขอรับชำระหนี้ไว้แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และ
      2) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
      2.2 เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 81/1  กฎหมายบัญญัติให้บุคคลธรรมดาซึ่งศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว
ให้ปลดบุคคลนั้นจากล้มละลายทันทีที่พ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย เว้นแต่
       1) บุคคลนั้นได้เคยถูกพิพากษาให้ล้มละลายมาก่อนแล้วและยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายครั้งก่อนจนถึงวันที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ครั้งหลังให้ขยายระยะเวลาเป็น 5 ปี
       2) บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตที่ไม่มีลักษณะตาม(3)ให้ ขยายระยะเวลาเป็น 10 ปี  เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษและบุคคลนั้นถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ศาลจะสั่งปลดจากล้มละลายก่อนครบกำหนด 10 ปี ตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หรือของบุคคลล้มละลายนั้นก็ได้
      3) บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายอันเนื่องมาจากหรือเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนให้ขยายระยะเวลาเป็น 10 ปี
        ในกรณีที่มีเหตุตาม (1) (2) หรือ (3) มากกว่าหนึ่งเหตุให้ขยายระยะเวลาโดยอาศัยเหตุใด               เหตุหนี่งที่มีระยะเวลาสูงสุดเพียงเหตุเดียว
 
 
 
 
 
      ผลของการปลดจากล้มละลายตามมาตรา 71 หรือมาตรา 81/1
คำสั่งปลดล้มละลายตามมาตรา 71 หรือเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา มาตรา 81/1 ทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ เว้นแต่หนี้เกี่ยวกับภาษีอากรหรือ                หนี้ซึ่งเกิดความทุจริตฉ้อโกงของบุคคลล้มละลายหรือหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องเนื่องจาก               ความทุจริตฉ้อโกงซึ่งบุคคลล้มละลายมีส่วนเกี่ยวข้องสมรู้ (พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 77 และมาตรา 81/1 วรรคท้าย)และไม่ทำให้บุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับบุคคลล้มละลายหรือรับผิดร่วม               กับบุคคลล้มละลายหรือค้ำประกัน หรืออยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ำประกันของบุคคลผู้ล้มละลาย            หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย (พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 78 และมาตรา 81/1 วรรคท้าย)
        «ข้อพึงระวังของลูกหนี้ «
                บุคคลล้มละลายที่มิได้ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในการรวบรวม ทรัพย์สินโดยไม่มีเหตุสมควร ศาลจะมีคำสั่งหยุดนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงาน                     พิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอหรือวันที่ศาลมีคำสั่ง จนถึงวันที่ศาลกำหนดโดยจะกำหนดเงื่อนไข                 หรือไม่ก็ได้เมื่อรวมระยะเวลาทั้งหมดแล้วจะต้องไม่เกิน 2 ปี
       3. ยกเลิกการล้มละลาย
                 เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอตามมาตรา 135 (1) ถึง (4)                           ต่อศาลว่ามีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
                 (1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจดำเนินการให้ได้ผลเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้                   ทั้งหลาย เพราะเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ไม่ช่วยหรือยอมเสีย
       ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายหรือวางเงินประกันตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกร้อง                   และไม่มีเจ้าหนี้อื่นที่สามารถและเต็มใจกระทำการดังกล่าวแล้วภายในกำหนดเวลา 1 เดือน                             นับแต่วันที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขัดขืนหรือละเลยนั้น
                (2) ลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย
                (3) หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว
               ถ้าลูกหนี้ปฏิเสธหนี้สินรายใด แต่ลูกหนี้ยอมทำสัญญาและให้ประกันต่อศาลว่าจะ                              ใช้เงินให้เต็มจำนวนกับค่าธรรมเนียมด้วยก็ดีหรือถ้าหาตัวเจ้าหนี้ไม่พบ แต่ลูกหนี้ได้นำเงิน                             เต็มจำนวนมาวางต่อศาลก็ดี ให้ถือว่าหนี้สินรายนั้นได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว
 
                (4) เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แบ่งทรัพย์ครั้งที่สุดหรือไม่มี ทรัพย์สินทรัพย์สิน              จะแบ่งให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ต่อแต่นั้นมาภายในกำหนด เวลา 10 ปี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายได้อีก และไม่มีเจ้าหนี้มาขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์              จัดการรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มละลาย
              ผลของคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย
       1. กรณีที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(1)และ(2)
              แม้เจ้าหนี้จะไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ลูกหนี้ก็ไม่หลุดพ้นจากหนี้สินดังกล่าวเนื่องจากกฎหมายมิได้ยกเว้นว่าหนี้ใดจะต้องหลุดพ้น เพราะคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย จึงแปลได้ว่าหนี้สิน           ทุกชนิดที่ลูกหนี้ มีอยู่ก่อนฟ้องอย่างไรก็คงเป็นหนี้อยู่เช่นเดิมอย่างนั้น ทำให้เจ้าหนี้มี สิทธินำมาฟ้องบังคับคดีได้รวมถึงการนำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายคดีใหม่ด้วย
         2. กรณีที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(1) และ (2)
              แม้ว่าทำให้ลูกหนี้ไม่หลุดพ้นจากหนี้สินแต่อย่างใดแต่ถ้าเจ้าหนี้ มิได้นำหนี้ดังกล่าวไปยื่นคำขอรับชำระหนี้หรือเจ้าหนี้นำหนี้ดังกล่าวไป ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วแต่ได้ถอนคำขอรับชำระหนี้เสีย ต่อมาเจ้าหนี้ กลับนำหนี้นั้นมาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายอีก ศาลเห็นว่ามีเหตุไม่ควร ให้ลูกหนี้ล้มละลายได้ (ดูฎีกาที่ 588/2535)
         3. หากเป็นการยกเลิกการล้มละลาย ตาม มาตรา 135(3) และ (4)

               ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวง ไม่นำบทบัญญัติตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 77 มาใช้กับการยกเลิกการล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 135(3)และ(4)

 

<<ที่มา ศาลล้มละลายกลาง>>




คำพิพากษาที่สำคัญ/บทความกฎหมาย โดยทนายธนู กุลอ่อน

ทนายความทนายธนู กุลอ่อน โทร. 081 928 0163
สัญญาจ้าง ทุนการศึกษา
เปิดเพลงในร้านอาหาร ปรึกษาทนาย |ชูศักดิ์ โทร. 081 928 0163
จดทะเบียนสมรสซ้อนโดยสุจริต มีสิทธิ์อะไรบ้าง article
ทางออกปัญหาพรากผู้เยาว์ ปรึกษากฎหมาย |ชูศักดิ์ โทร. 081 928 0163 article
นับอายุเป็น รับโทษน้อยลง ที่ปรึกษากฎหมาย |ชูศักดิ์ โทร. 081 928 0163 article
ขายสินสมรสต้องได้รับความยินยอม article
สัญญาที่เอาเปรียบ บางข้อ(ของบัตรเครดิต) article
ผลของการเซ็นกระดาษเปล่า article
การพิสูจน์ ความเป็นบุตร/บิดา/มารดา ด้วย D N A article
คู่สมรสเป็นคนต่างชาติถือครองที่ดินได้หรือ article
ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา article
อยากหย่า อีกฝ่ายไม่ยอมหย่า ทำไง? article
หมิ่นประมาท ทางแพ่ง/อาญา? article
ขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ? article
การจดทะเบียนภาระจำยอม
กำหนดเวลาในการยื่นขอแก้ไขคำฟ้องคำให้การ ( มาตรา 180 )
อาชีพทนายความ | ปรึกษากฎหมาย โทรด่วน 081 928 0163
ทนาย กรุงเทพ | ปรึกษากฎหมาย โทรด่วน 081 928 0163
อายุความฟ้องร้อง ซื้อขาย 2 ปี หรือ 5 ปี
ซื้อขาย หนี้ เบี้ยปรับ มัดจำ คำเสนอ
คำร้องขอการปล่อยชั่วคราว
คำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
ความผิดต่อชีิวิต (ปาหิน)
ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
ยาเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ดครึ่ง
สัญญาซื้อขายบัญชีลูกหนี้
สืบประกอบพยายามฆ่า
ชุลมุนต่อสู้
ขับรถประมาท
ขับรถประมาท 2 |ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ล้อซื้อยาเมทแอมเฟตามีน |ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
คำขอท้ายฟ้อง |ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ชิงทรัพย์ |ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ชิงทรัพย์ ตัวการ |ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ลักลวดทองแดง|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
สำเนาเอกสาร|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ลักทรัพย์ (พยานเดียว)|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ภาระการพิสูจน์|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
บันดาลโทสะ|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
ซ็อคปลา|ปรึกษาทนาย โทรด่วน 081 928 0163
สนามแข่งรถ
ยืม ตัวแทน
ซ่อมแอร์
รับรองโจร
ละอองสี
กรรโชก
ครอบครองยาบ้าเพื่อจำหน่าย
จ้างทำของ
ลักน้ำมัน
ฉ้อโกง
จำหน่ายยาบ้า 1 เม็ด ซักทอด
ขอคุ้มครองชั่วคราว
ข่มขืนกระทำชำเรา
เงินจอง
การอุทธรณ์
เมาแล้วขับ โทษจำคุบ และปรับ
"คดีเสร็จเด็ดขาด" กับ "คดีถึงที่สุด" ต่างกันอย่างไร
ขอถอนผู้จัดการมรดก/คำพิพากษาศาล
การรังวัด รวม แบ่งแยก สอบเขตที่ดิน article
กฎ ระเบียบ การขายทอดตลาด article
ขั้นตอนในการดำเนินคดีแรงงาน article
ยาไอซ์ (ICE)
ยาอี (Ecstasy)
ยาบ้า รู้ไว้สักนิดก่อนคิดยุ่งเกี่ยว article
บัญญัติ 10 ประการ ยาเสพติด article
อากรแสตมป์กับการโอนที่ดิน article
ภาษีธุรกิจเฉพาะ article
ภาษีการโอนที่ดิน(หัก ณ ที่จ่าย) article
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน article
เรื่องของภาษีป้าย article
รู้ไว้สักนิดก่อนคิดเล่นแชร์
ซื้อขายไม่สุจริต ต้องเพิกถอน article
เรื่องของเอกสิทธิ์ article
ล้มละลายแล้ว คดีอาญาเลิกหรือไม่
ผู้เสียหายในคดีเช็ค คือใคร
ล้มละลาย น่ารู้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำคุก 50 ปี 5 ลูกศิษย์อดีตรองเจ้าอาวาส
ฟ้อง!สรรพากรต้องจ่าย 28 ล้าน
กฎหมายอาญาใช้ให้เป็นคุณแก่จำเลย
กระบวนการพิจารณาคดีแรงงาน
แผนผังพื้นฟูกิจการของลูกหนี้
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย
การร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
การดำเนินคดีอาญา
การขอปล่อยชั่วคราว(ประกันตัว)
วงเงินประกันผู้ต้องหา/จำเลย
คิดให้ดีก่อนมีชู้
ยาเสพติด ที่ควรรู้
ขั้นตอนการยึกทรัพย์บังคับดคี
เมื่อได้รับหมายศาล จะทำอย่างไร
การเล่นแชร์เป็นอย่างไร
เช่าซื้อรถยนต์ควรทำอย่างไร
การร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
รู้จักศาลทรัพย์สินทางปัญญา
การได้ที่ดินมาของชาวต่างชาติ
ทนายความ พ.ต.ท. ทักษิณ ยอมรับในทางกฎหมายคดีเป็นที่สุด



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
สำนักงานทนายความชูศักดิ์ พุทธรักษ์ และเพื่อน
255 ถนนวัดเวฬุวนาราม แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210
Mobile Phone:(66) 81 928 0163 Email:chusaklaw@gmail.com
ติดต่อ WEBMASTER ที่ Email:chusaklaw@gmail.com, Line Id. chusak1965
สำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกา
C.L.INTERNATIONAL LAW OFFICE CO.,LTD.
3407 W North A St. Tampa, FL, U.S.A. 33609-2252
Email:chusaklaw@gmail.com, www.chusaklaw.com
Skype : chusak1234, Line Id. chusak1965