ลักษณะพิเศษของการดำเนินคดีแรงงาน การดำเนินคดีแรงงาน โจทก์และจำเลยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าการฟ้อง การส่งหมาย การสืบพยาน หรือการบังคับคดี โดยเฉพาะการสืบพยานที่ศาลแรงงานเรียกมา ศาลจะเป็น ผู้จ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะ และค่าเช่าที่พักให้แก่พยานเอง
การพิจารณาคดีแรงงาน ศาลจะกระทำด้วยความรวดเร็ว ฉะนั้นโจทก์และจำเลยจึงควรเตรียม พยานหลักฐาน(ถ้ามี) ให้พร้อมไว้และควรไปศาลตามกำหนดนัดทุกครั้ง เพื่อให้ศาลพิจารณาได้ทันที
การดำเนินคดีในศาลแรงงานนั้น ศาลจะพยายามไกล่เกลี่ยให้โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีกันต่อไป โดยไม่มีฝ่ายใดได้ชื่อว่าเป็นฝ่ายแพ้หรือฝ่ายชนะ โจทก์และจำเลยจึงควรเข้าใจ และให้ความร่วมมือกับวิธีการของศาลเช่นว่านี้ โดยละเสียซึ่งทิฐิมานะและพร้อมที่จะรับข้อเสนอที่สมควรของอีกฝ่ายหนึ่งหรือของศาลได้ตลอดเวลา
ขั้นตอนในการดำเนินคดี นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้มีสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายหรือผู้กระทำการแทน หากประสงค์จะเป็นโจทก์ฟ้องคดีก็อาจยื่นฟ้องโดยทำเป็นหนังสือหรือมาแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อหน้าศาล
เมื่อศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว จะกำหนดวันพิจารณา ออกหมายเรียกจำเลย และนัดโจทก์ให้มาศาลในวันดังกล่าว
เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำฟ้องไว้แล้ว จะยื่นคำให้การก่อนวันนัดพิจารณาหรือไปให้การในวันนัดทีเดียวก็ได้
ในวันนัดพิจารณา ทั้งสองฝ่ายต้องมาศาล ถ้าโจทก์ไม่มาศาลจะจำหน่ายคดี แต่ถ้าจำเลยไม่มา ศาลจะพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว ในกรณีที่โจทก์และจำเลยมาพร้อมกัน ศาลจะพยายามไกล่เกลี่ยเพื่อให้โจทก์และจำเลยได้ตกลงกัน ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็จะกำหนดว่ามีประเด็นข้อพิพาทอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งกำหนดให้โจทก์และจำเลยนำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริง ต่อไป
ในการสืบพยาน ศาลจะดำเนินการติดต่อกันไปจนเสร็จคดี หากมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อน ก็จะเลื่อนได้ครั้งหนึ่งไม่เกินเจ็ดวัน
เมื่อสืบพยานเสร็จแล้ว โจทก์และจำเลยอาจแถลงการณ์ด้วยวาจาเพื่อให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่สำคัญซึ่งได้นำสืบหรืออ้างอิงมา ศาลจะทำคำพิพากษาแล้วอ่านคำพิพากษานั้นโดยเร็ว ทั้งนี้ ภายในสามวันนับแต่วันสืบพยานเสร็จ
การอุทธรณ์คดีแรงงาน คดีแรงงานนั้นอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง จะอุทธรณ์ได้เฉพาะข้อกฎหมาย ซึ่งได้แก่การคัดค้านว่าตัวบทกฎหมายที่ศาลแรงงานยกขึ้นอ้างอิงตีความ หรือนำมาปรับใช้กับเรื่องที่พิพาทกันอยู่นั้นไม่ถูกต้อง ส่วนปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งได้แก่พฤติการณ์หรือพยานหลักฐานต่าง ๆ ของคดีว่ามีอยู่หรือเป็นอย่างไรนั้น จะอุทธรณ์ว่ามีอยู่หรือเป็นอย่างอื่นผิดไปจากศาลแรงงานวินิจฉัยไว้ไม่ได้
นำใบนัดที่ได้รับจากงานรับฟ้องกลับมาที่อาคารชั้นเดียว พบนิติกรผู้ที่ให้คำปรึกษา นิติกรจะบันทึกรายการบัญชีการฟ้องคดี และคืนใบนัดให้ ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 5 นาที เสร็จขั้นตอนนี้เมื่อนิติกรคืนใบนัดให้ และเสร็จขบวนการฟ้องคดี
ขั้นตอนในการดำเนินคดี
ลำดับขั้นตอน
|
กิจกรรม
|
วิธีปฏิบัติ
|
ขั้นตอนที่ 1
|
ปรึกษา ทำคำฟ้อง คำร้อง
|
แจ้งความประสงค์ที่นิติกร โต๊ะที่ 1 พบนิติกรผู้ให้คำปรึกษา ผู้ที่จะฟ้องร้องบอกเล่าข้อเท็จจริงต่างๆ พร้อมแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำคำฟ้อง คำร้อง (ถ้ามี) ทำคำฟ้อง คำร้อง และบัญชีพยาน ใช้เวลาประมาณ 30 - 45 นาที ต่อคน (อาจใช้เวลามากกว่านี้หากข้อเท็จจริงมีมาก และฟ้องหลายข้อหา) ขั้นตอนที่ 1 จะจบลงเมื่อคำฟ้อง คำร้อง และบัญชีพยานเสร็จ |
ขั้นตอนที่ 2
|
ถ่ายสำเนาคำฟ้อง / คำร้อง
|
เมื่อทำคำฟ้องเสร็จแล้ว ผู้ยื่นคำฟ้องต้องนำคำฟ้องไปถ่ายเอกสาร โดยถ่ายได้ที่ชั้น 1 ช่องหมายเลข 6 (งานเก็บสำนวน) อาคาร 7 ชั้น จำนวนสำเนาคำฟ้องเท่ากับจำเลยที่ถูกฟ้อง หากประสงค์จะเก็บสำเนาคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน ควรถ่ายเพิ่มอีก 1 ชุด รับรองสำเนาถูกต้องที่สำเนาคำฟ้อง |
ขั้นตอนที่ 3
|
ยื่นคำฟ้อง, คำร้อง รับใบนัด
|
นำคำฟ้อง / คำร้อง / บัญชีพยาน ฉบับจริงพร้อมสำเนา ส่งให้กับงานรับฟ้อง ช่องหมายเลข 3 ซึ่งอยู่ติดกับช่องหมายเลข 4 แล้วนั่งรอเรียกชื่อ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจคำฟ้องและเอกสารถูกต้อง จะให้ใบนัดและแจ้ง วัน เดือน ปี พ.ศ. เวลา ที่ศาลนัดพิจารณาคดี เสร็จขั้นตอนนี้จะได้ใบนัด ขั้นตอนนี้ใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที |
ขั้นตอนที่ 4
|
นำใบนัดแจ้งนิติกร
|
นำใบนัดที่ได้รับจากงานรับฟ้องกลับมาที่อาคารชั้นเดียว พบนิติกรผู้ที่ให้คำปรึกษา นิติกรจะบันทึกรายการบัญชีการฟ้องคดี และคืนใบนัดให้ ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 5 นาที เสร็จขั้นตอนนี้เมื่อนิติกรคืนใบนัดให้ และเสร็จขบวนการฟ้องคดี |